วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ผลงานนักเรียนเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์












หมากเหลือง




หมากเหลือง (Yellow palm) เป็นปาล์มประดับชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกประดับไว้ภายในบ้านหรือปลูกในแปลงจัดสวน เนื่องจาก ก้านใบ และใบมีสีเหลืองอมเขียวสวยงาม ลำต้นไม่สูงมากนัก มีอายุยืนยาว สามารถปลูก และดูแลง่าย                   

  • วงศ์ : Palmae (Arecaceae)


  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysalidocarpus lutescens.


  • ชื่อสามัญ :– Yellow palm– Yellow cane palm– Golden cane palm– Butterfly palm– Madagascar palm 


ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย



    หมากเหลือง มีถิ่นกำเนิดในแถบหมู่เกาะมาดากัสการ์ ปัจจุบันพบปลูกกันทั่วโลก โดยเฉพะแถบประเทศร้อนชื้น รวมถึงประเทศไทยด้วย 

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์



ลำต้น

หมากเหลือง มีลำต้นเพรา ทรงกลม และตั้งตรง ลำต้นแตกหน่อเป็นกอใหม่รอบต้นแม่ เมื่อโตเต็มที่จะสูงได้ถึง 8 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 4-8 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อหรือเป็นวงชัดเจน ผิวลำต้นเรียบ โคนลำต้นมีสีเหลืองส้มหรือเขียวอมเหลือง ลำต้นส่วนปลายมีนวลสีขาวปกคลุม

ใบ

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก กาบใบหุ้มลำต้น มีสีเหลืองอมส้ม เรียงเยื้องกันตามความสูง ใบมีทางใบยาว 1.5-2 เมตร ทางใบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอมเหลือง บนทางใบมีใบย่อยเรียงเยื้องสลับกันเป็นแถว ใบย่อยมีลักษณะเรียวยาว โคนใบสอบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม คล้ายใบมะพร้าว กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มีสีเขียวอมเหลือง

ดอก

หมากเหลืองออกดอกเป็นช่อเหมือนกับช่อดอกของปาล์มทั่วไป ก้านช่อดอกยาวประมาณ 60-100 เซนติเมตร ปลายช่อแตกแขนงเป็นช่อย่อย บนช่อแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยแต่ละดอกมีสีขาว ทั้งนี้ ดอกหมากเหลืองเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ มีการแยกเพศอยู่คนละต้น

ผล

ผลหมากเหลือง ติดผลเป็นช่อ แต่ละผลมีรูปกลมรี ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม และสุกจัดเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมดำ แต่ละผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์หมากเหลือง


1. หมากเหลืองนิยมปลูกทั้งในแปลงจัดสวน การด้านภูมิทัศน์ และการปลูกในกระถางเพื่อเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีทรงพุ่มสวยงาม ทางใบยาว โค้งย้อยลงดิน แผ่นใบมีสีเหลืองอมเขียวสวยงาม ทั้งนี้ การปลูกในกระถาง ควรวางกระถางในพื้นที่ร่มหรือมีแสงแดดไม่ส่องทั้งวันหรือมีแสงรำไร อาทิ การวางกระถางภายในบ้าน หน้าบ้านที่มีร่ม หรือวางไว้ข้างบ้านที่มีร่มในบางครั้ง เพราะการปลูกในกระถางจะสูญเสียความชื้นได้ง่ายกว่าการปลูกลงแปลง

2. ใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้มงคล โดยมีความเชื่อต่างๆ ได้แก่หมากเหลืองช่วยให้ผู้คนเกิดความเคารพ และเชื่อฟังในตน เหมือนก้านใบหมากเหลืองที่โค้งโน้มลง รวมถึงทำให้สมาชิกในบ้านเป็นผู้มีจิตใจดี จิตใจงดงาม มีความถ่อมเนื้อถ่อมตนหมากเหลืองมีก้าน และใบสีเหลืองอมเขียวหรือบางต้นมีสีเหลืองทอง ช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่ำรวย มีโชคลาภให้แก้ผู้ปลูกหรือสมาชิกภายในบ้าน

3. หมากเหลืองนอกจากจะปลูกเพื่อการประดับแล้ว เกษตรกรบางรายยังปลูกเพื่อตัดก้านใบส่งขาย สร้างรายได้งามเช่นกัน ก้านใบที่จำหน่ายถูกใช้สำหรับจัดตกแต่งในพิธีต่างๆ อาทิ งานมงคล งานเทศกาลชุมชน และงานสำคัญของทางราชการ

4. ก้านหมากเหลืองใช้ถูหรือจิ้มบริเวณฝ่าเท้าเพื่อตรวจหาอาการชาจากภาวะโรคเบาหวาน ลดความเสี่ยงการเกิดแผลจากโรคเบาหวาน มีวิธีการใช้ คือ นำก้านหมากเหลืองมาผ่าเปลือกนอกออก ให้เหลือเฉพาะแก่นอ่อนด้านใน จากนั้น เหลาให้ส่วนปลายเรียวเล็ก และปลายสุดเหลาให้มน ก่อนใช้จิ้มบนฝ่าเท้าตรวจหาอาการชา




    



อินทนิล

 



อินทนิล หรือ อินทนิลน้ำ เป็นไม้ยืนต้น เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบทั่วทุกภาค จะพบมากในป่าดงดิบภาคใต้ มีดอกสีม่วง สวยงาม มีชื่อในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ กัน เช่น ตะแบกอินเดีย ฉ่องมู ซอง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) บาเอ (ปัตตานี) บางอบะซา (ยะลา นราธิวาส มาเลเซีย) อินทนิล (ภาคกลาง ภาคใต้) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)อินทนิลเป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดสกลนครและจังหวัดระนอง


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ใบ

เป็นใบเดี่ยว (simple leaf) ออกตรงข้าม (opposite) หรือเยื้องกันเล็กน้อย (sub-opposit) ทรงใบรูปขอบขนาน (oblong) หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก (lanceolate) กว้าง 5 - 10 ซ.ม. ยาว 11 -26 ซ.ม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกัน เล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบมี 9 -17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ ขอบใบ เส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซ.ม. เกลี้ยงไม่มีขน

ดอก

เป็นชนิดดอกช่อ (inflorescence flower) แบบ Panicle ออกรวมกันเป็นช่อโต ยาวถึง 30 ซ.ม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง มีสี ต่าง ๆ กันเช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพูหรือชมพูล้วน ๆ ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็ก ๆ ติดอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูป กรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฏชัด มีขนสั้นปก คลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซ.ม. เกสรผู้มีขนาดเดียวยาวไล่เรี่ยกัน รังไข่กลม เกลี้ยง


ประโยชน์

เนื้อไม้

เนื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกระดานพื้น ฝา กระเบื้อง มุงหลังคา ใช้ต่อเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล ทำเกวียน เครื่องตบแต่งบ้าน ทำแจว พาย เปียโน หีบใส่ของ ถังไม้ กังหันน้ำ เครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ เช่น ทำไถ ไม้นวดข้าว ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อ ทำไม้คาน ไม้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ ทำหีบศพอย่างดี 

สรรพคุณทางยา
  • เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย
  • ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน
  • เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ
  • แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน
  • ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง




ผักเหลียง

 




       ผักเหลียง (Baegu) จัดเป็นผักเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ นิยมใช้ใบอ่อนประกอบอาหาร อาทิ ผัดผัดเหลียง แกงเหลียง ผัดใส่ไข่ แกงจืด ห่อหมก ลวกจิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดคู่กับกับข้าว มีราคาขายอยู่ในช่วงกิโลกรัมละ 80-100 บาท

  • วงศ์ : Gnetaceae
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum gnemon var. tenerum
  •  ชื่อสามัญ : Baegu

  • ชื่อท้องถิ่น :

         ผักเหลียง (ทุกภาค)
          – ผักเหมียง (พังงา, ภูเก็ต, กระบี่)
          – ผักเขลียง (สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช)
          – ผักเปรียง (นครศรีธรรมราช)
          – กะเหรียง (บางท้องถิ่นของจังหวัดชุมพร)


ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
        

         ผักเหลียงเป็นพันธุ์ไม้ป่า มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณคาบสมุทรมาลายู พบแพร่กระจายทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียวเติบโตได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้น พบแพร่กระจายบนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 50-200 เมตร โดยประเทศไทยพบแพร่กระจายทั่วไปบริเวณเชิงเขาและที่ราบในภาคใต้บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และกระบี่   

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

ลำต้น
      

ผักเหลียง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นทรงพุ่มเตี้ยๆ ลำต้นมีขนาด 10-30 มิลลิเมตร สูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้น และกิ่งมีลักษณะเป็นข้อๆ ลำต้นแตกกิ่งแขนงมาก และแตกไหลออกด้านข้าง จนแลดูเป็นทรงพุ่มหนาทึบ เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีสีเขียวเข้ม แต่ละกิ่งไม่มีการสลัดทิ้งกิ่ง ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งเปราะหักง่าย


ใบ

ผักเหลียง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะใบคล้ายใบยางพารา ใบแตกออกที่ปลายกิ่งแขนง แตกออกเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะรี มีก้านใบยาวประมาณ 1 2 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขนาดใบกว้างประมาณ 4 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 20 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบบาง แต่เหนียว ใบอ่อนมีสีแดงอมส้ม มีรสหวานมัน 

ดอก

ผักเหลียงออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อดอกเป็นช่อดอกแบบเชิงลด มีความยาวช่อประมาณ 2-5 เซนติเมตร แยกออกเป็นต้นดอกช่อตัวผู้ และต้นดอกสมบูรณ์เพศแยกต้นกันดอกตัวผู้ออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 34 เซนติเมตร ช่อดอกมีลักษณะเป็นข้อๆที่มีดอกตัวผู้เรียงล้อมข้อ ตัวดอกมีขนาดเล็ก มีกลีบดอกสีขาว ส่วนต้นดอกสมบูรณ์เพศมีช่อดอกยาวประมาณ 57 เซนติเมตร ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกต้นตัวผู้ ทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียเรียงล้อมบนข้อเหมือนต้นดอกตัวผู้ ประมาณ 710 ข้อ ทั้งนี้ ดอกผักเหลียงจะเริ่มออกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 

ผล

ผลผักเหลียงออกรวมกันบนช่อ แต่ละช่อมีผลประมาณ 10-20 ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวย กว้างประมาณ 11.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.54 เซนติเมตร เปลือกผลค่อนข้างหนา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อผลมีรสหวาน ทั้งนี้ หลังออกดอก ดอกผักเหลียงจะเริ่มติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และผลสุกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และติดเริ่มติดผลครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 5-6 ปี ขึ้นไป แต่การติดดอกออกผลจะไม่แน่นอน บางปีอาจไม่มีการติดดอกออกผล โดยเฉพาะปีที่ฝนตกชุกมาก


เมล็ด

เมล็ดผักเหลียงมีรูปไข่หรือรูปกระสวย เปลือกหุ้มเมล็ดบาง และหนาเฉพาะบริเวณขั้วเมล็ด ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เมล็ดค่อนข้างงอกยาก และงอกช้า


 ประโยชน์ผักเหลียง

1. ยอดผักเหลียง กรอบเมื่อรับประทานสด นุ่มเมื่อปรุงสุก มีรสชาติอร่อย หวานมัน นิยมรับประทานสดหรือใช้ประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ผัดใส่ไข่ แกงจืด แกงกะทิ และแกงไตปลา เป็นต้น

2. ผักเหลียง ใช้เคี้ยวหรือรับประทานสดแก้หิว แก้ท้องว่าง ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลังวังชา แก้อาการขาดน้ำ โดยเฉพาะเวลาเดินทางไกลหรือเดินป่า

3. เมล็ดใช้คั่วรับประทานเป็นของขบเคี้ยวคล้ายถั่ว ส่วนประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย นิยมใช้เนื้อเมล็ดมาบด ก่อนรีดเป็นแผ่น และทอดใช้ทำข้าวเกรียบ

4. ผักเหลียงในบางครัวเรือนใช้ปลูกในกระถางเพื่อประดับในบ้านเรือน เพราะลำต้นแตกออกเป็นทรงพุ่ม มีใบเขียวสดตลอดทั้งปี

5. ทุกส่วนของผักเหลียงประยุกต์ใช้เป็นยาสมุนไพร อาทิ ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา และแก้โรคซางในเด็ก เป็นต้น

6. ยางจากลำต้นใช้ทาลอกฝ้า ช่วยให้หน้าขาวใส

7. ผลเหลียงสุกมีรสหวานสามารถรับประทานได้ และเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ป่า


8. ผักเหลียงช่วยในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ช่วยชะลอการไหลซึมของน้ำ ช่วยให้หน้าดินชุ่มชื้นนาน ช่วยป้องกันไฟป่า ช่วยบำรุงดิน ป้องกันหน้าดินแข็ง เอื้อต่อการเติบโต และให้ผลผลิตของพืชหลักในแปลง

9. ช่วยเพิ่มรายได้ อาทิ การปลูกเหลียงแซมในสวนยาง สวนปาล์ม นอกจากจะได้รายได้จากสวนยางหรือปาล์มแล้ว ยอดผักเหลียงยังช่วยสร้างรายได้งามในแต่ละปี            นอกจากนั้น ผักเหลียงเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินหลายชนิด อาทิ เบต้าแคโรทีน ที่สูงกว่าผักบุ้งจีนถึง 3 เท่า และสูงกว่าผักบุ้งไทยถึง 5-10 เท่า







กระเจี๊ยบแดง









  • ชื่อวิทยาศาสตร์     Hibiscus sabdariffa L.
  • ชื่อสามัญ       Jamaica sorrel, Roselle, Red sorrel, Rozelle
  • วงศ์      Malvaceae
  • ชื่ออื่น กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ยว  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง  ส้มปู  ส้มพอ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

1. ลำต้น และราก  

กระเจี๊ยบแดง มีลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 1-2.5 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 1-2 ซม. แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ ลำต้น และกิ่งมีสีแดงม่วง เปลือกลำต้นบางเรียบ สามารถลอกเป็นเส้นได้รากกระเจี๊ยบเป็นระบบรากแก้ว และแตกรากแขนง รากอยู่ในระดับความลึกไม่มาก

 2. ใบ

 ใบกระเจี๊ยบแดง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามความสูงของกิ่ง มีลักษณะคล้ายปลายหอก ยาวประมาณ 7-13 ซม. มีขนปกคลุมทั้งด้านบนด้านล่าง ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนปลายเว้าลึกคล้ายนิ้วมือ 3 นิ้ว หรือเป็น 5 แฉก ระยะห่างระหว่างแฉก 0.5-3 ซม. ลึกประมาณ 3-8 ซม. มีเส้นใบ 3-5 เส้น เส้นใบด้านล่างนูนเด่น มีต่อมบริเวณโคนเส้นกลางใบ 1 ต่อม มีหูใบเป็นเส้นเรียวยาว 0.8-1.5 ซม. ใบที่มีอายุน้อย และใบใกล้ดอกจะมีขนาดเล็กรูปไข่ ใบกระเจี๊ยบแดงบางพันธุ์จะไม่มีแฉก มีลักษณะโคนใบมน และเรียวยาวจนถึงปลาย มีก้านใบมีแดงม่วงเหมือนสีของกิ่ง เส้นใบด้านล่างนูนชัด 

3. ดอก

 ดอกกระเจี๊ยบแดงออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกแทงออกตามซอกใบตั้งแต่โคนกิ่งถึงปลายกิ่ง ดอกมีก้านดอกสั้น สีแดงม่วง ดอกมีกลีบเลี้ยง ประมาณ 5 กลีบ หุ้มดอกบนสุด มีขนาดใหญ่ มีลักษณะอวบหนา มีสีแดงเข้มหุ้มดอก และกลีบรองดอก ที่เป็นกลีบด้านล่างสุด มีขนาดเล็ก 8-12 กลีบ มีสีแดงเข้ม กลีบทั้ง 2 ชนิดนี้ จะติดอยู่กับดอกจนถึงติดผล และผลแก่ ไม่มีร่วง ดอกเมื่อบานจะมีกลีบดอกสีเหลืองหรือสีชมพูอ่อนหรือสีขาวแกมชมพู บริเวณกลางดอกมีสีเข้ม ส่วนของดอกมีสีจางลง เมื่อดอกแก่กลีบดอกจะร่วง ทำให้กลีบรองดอก และกลีบเลี้ยงเจริญขึ้นมาหุ้ม 

 4. ผล

ผลกระเจี๊ยบแดงเจริญจากดอก ถูกหุ้มอยู่ด้านในกลีบเลี้ยง ลักษณะเป็นรูปไข่ กลมรี ยาวประมาณ 2.5 ซม. มีจงอยสั้นๆ มีขนสีเหลืองปกคลุม



ประโยชน์


1. กลีบเลี้ยงที่มีสีแดงเข้มรวมถึงกลีบดอกนิยมนำมาต้มทำน้ำผลไม้ที่เรียกว่า น้ำกระเจี๊ยบ ให้รสเปรี้ยว ผสมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี

2. ดอกอ่อน นำมาปรุงอาหาร โดยนิยมนำส่วนดอกใส่ในอาหารจำพวกต้มยำเพื่อให้มีรสเปรี้ยว ส่วนใบอ่อน และยอดอ่อนนำมาปรุงอาหารลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงต้มหรือผสมเป็นผักสลัด

3. ดอกนำมาทำขนมหรือของหวาน อาทิ แยม เยลลี่ ไอศครีม

4. สีแดงเข้มของดอก นำมาสกัดเป็นสีผสมอาหาร เครื่องดื่ม หรือสีย้อมผ้า

5. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกระเจี๊ยบแดง อาทิ ซอสกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบผง ไวน์กระเจี๊ยบ เป็นต้น

6. เปลือกของกระเจี๊ยบแดงสามารถลอกใช้ทำเป็นเชือกรัดของได้

7. ลำต้นสามารถใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษสาได้

8. สารเพกตินที่พบในดอกสกัดนำไปใช้เป็นสารป้องกันการแยกตัว (emulsifier) ของน้ำมันในเครื่องสำอาง

9. เมล็ดมีน้ำมันสูง ใช้สกัดสำหรับเป็นน้ำมันประกอบอาหารที่มีกรดไลโนเลอิกสูง (linoleic acid)

10. เมล็ดใช้ผสมกับสารส้มสำหรับตกตะกอนน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม

11. เมล็ดมีรสขมใช้บดผสมในอาหารเพื่อให้ได้รสขมเล็กน้อย

12. เมล็ดที่มีรสขมเหมือนกาแฟบางประเทศนำมาตากแห้ง และบดชงดื่มแทนกาแฟ

13. ทั้งใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก และเมล็ดใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์